วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

อาชีพที่สนใจ นักธุรกิจ

ลักษณะการทำงาน(นักธุรกิจ)
เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวงการธุรกิจทุกด้านทั้งในวงการภายในและต่างประเทศที่มีส่วนสัมพันธ์กัน ในการดำเนินงานนี้ ผู้ประกอบอาชีพต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะการประกอบธุรกิจประเภทธุรกิจและหน้าที่ต่างๆของธุรกิจ ตลอดจนหน้าที่และความสัมพันธ์ของธุรกิจที่มีต่อกัน รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ซึ่งธุรกิจต้องดำเนินอยู่ด้วยกัน
การประกอบอาชีพนี้ มีสาขาต่างๆ คือ
 1. สาขาการบริหารการเงินและการธนาคาร 
2. สาขาการตลาด
3.สาขาการบริหารทั่วไป 
4.สาขาการบริหารบุคคล 

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมกับอาชีพ(นักธุรกิจ)
1. การแต่งกายที่สุภาพ สะอาดตา
2. มีอัธยาศัย ยิ้มแย้ม แจ่มใส
3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง
4. เป็นผู้มีไหวพริบดี
5. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี
6. เป็นผู้มองการณ์ไกล
7. มีความอดทน
8.มีความเป็นผู้นำและกล้าตัดสินใจในการ แก้ปัญหา
9.รู้จักการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารการใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักการตลาดรุ่นใหม่
10.ต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ดี
  
อุดมการณ์ซึ่งนักธุรกิจพึงมี  ได้แก่
1. หมั่นประกอบการดี  และประพฤติเป็นคนดี
2. ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม  โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับประโยชน์ของคนทั่วไป
3. ต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
4. ดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและยึดถือปฏิบัติข้อบังคับของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
5. ละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว  แต่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ  โดยคำนึงข้อปฏิบัติของการจัดการที่ดี
6. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติต่อบุคคลอื่น  ต้องตระหนักถึงศสักดิ์ศรีความเสมอภาคของกลุ่มและบุคคล

แนวทางการศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพ(นักธุรกิจ)


             -เมื่อจบม.3 แล้วเข้าแผนการเรียนศิลป์คำนวณ

-           -จบม.6เข้าสายการเรียนสาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
       ลักษณะการเรียนการสอนสาขาวิชา
สาขา ในฝันของเด็กสายศิลป์ หรือสายวิทย์(แต่มีหัวใจศิลป์) สาขานี้จะส่งให้กลายเป็นนักบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศรุ่นใหม่ที่ก้าว ไกลด้วยความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ มีแนวคิดทางด้านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศอย่างมีระบบ ด้านอาชีพที่รองรับจะเป็นพวก นักวิชาการ นักวิจัยด้านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ นักธุรกิจด้านการนำเข้า และส่งออก หรือที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจระหว่างประเทศ
 
ความก้าวหน้าในอาชีพ รายได้ และสวัสดีการ
    นักการตลาดในระดับต้นต้องสั่งสมเรียนรู้ประสบการณ์ในหน้าที่ต่างๆ ของแผนกอย่างครบถ้วน ซึ่งต้องรู้และเข้าใจธรรมชาติของตลาดอุปโภคและบริโภค แล้วยังต้องรู้จักธรรมชาติผลิตภัณฑ์สินค้าแต่ละตัว ขององค์กร ต้องมีความคิดในการผลิตสินค้าที่เป็นนวตกรรม ซึ่งอาจใช้เวลาเรียนรู้ประมาณ 2 - 3 ปี จากนั้นควรเข้ารับการอบรมการทำแผนทางการตลาด และแผนธุรกิจ เพื่อให้มีความรู้ขึ้นเป็นระดับผู้ช่วยผู้จัดการหรือผู้จัดการของแต่ละฝ่าย การเป็นผู้จัดการของทางการตลาดของแผนก หรือเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดขององค์กรได้ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 5 -10 ปี นักการตลาดที่มีความสามารถจะได้รับความก้าวหน้าเป็นกรรมการผู้จัดการในองค์กรธุรกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานที่มีแม่ข่ายอยู่ในต่างประเทศ



ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจพบในการประกอบอาชีพ(นักธุรกิจ)
1.ขาดแคลนทั้งเงินทุนและกระแสเงินสดหมุนเวียน
          การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจแทบทุกอย่างล้วนต้องใช้เงินทุนแทบทั้งสิ้น ยิ่งระบบธุรกิจในปัจจุบันมีลักษณะเป็นทุนนิยมเสรีด้วยแล้ว บริษัทของผู้ประกอบการใดที่พบเจอกับปัญหานี้ล้วนต้องปวดเศียรเวียนเกล้าอย่างแน่นอน ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือผู้ประกอบการคือต้องจัดการบัญชีและการเงินให้ดี พร้อมทั้งวางระบบบริหารที่ถูกต้อง มีเงินทุนที่ต้องใช้จ่ายจริงและทุนสำรองที่มากเพียงพอต่อการประกอบธุรกิจ
2.ไม่มีความรู้ด้านบัญชีและกฏหมาย
     เรื่องการทำบัญชีและข้อกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญมากในการก่อตั้งบริษัท ผู้ประกอบการส่วนใหญ่พบกับปัญหานี้ค่อนข้างมาก เพราะเกือบจะทั้งหมดของผู้ก่อตั้งบริษัทมักเป็นผู้มีไอเดียความคิดสร้างสรรค์ที่มองเห็นช่องทางการทำธุรกิจและบุุคคลที่เคยประกอบอาชีพหรือมีประสบการณ์ทางด้านอื่นๆ มาก่อน แต่ไม่ใช่ผู้มีความรู้หรือจบการศึกษาด้านบัญชีและกฎหมายโดยตรงจึงไม่รู้ว่าควรจัดการกับบัญชีอย่างไร
3.ไม่มีพนักงานที่มีความสามารถมากพอ
     บริษัทที่เพิ่งจะก่อตั้งใหม่มักไม่ค่อยได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปซึ่งมีความรู้และประสบการณ์จึงกลายเป็นหนึ่งในปัญหาที่น่าหนักใจของผู้ประกอบการ ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือผู้ประกอบการอาจต้องยอมจ่ายบ้างเพื่อจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์และความรู้ที่เหมาะสมจะเข้ามานั่งทำงานในบริษัท โดยต้องมีข้อเสนอพร้อมทั้งสวัสดิการที่น่าสนใจมากเพียงพอจะดึงดูดให้มาร่วมงานได้


แนวโน้มความต้องการอาชีพในอานาคต(นักธุรกิจ)
     เนื่องจากในปัจุจบันเด็กหรือนักศึกษาที่ต่อสายตรงเพื่อเข้าเป็นอาชีพ นักธุรกิจ มีน้อยมากเนื่องจากปัญหาที่ว่า
 -ไม่อยากเรียนอะไรแนวนี้เลย
-นึกว่าจะได้เรียนอะไรที่มันเกี่ยวกับ IT ซะอีก
    นี่เป็นปัญหาของเด็กสมัยใหม่ที่นิยมจะหันนิสัยหรืออยากรู้อยากเห็นไปไหนทางเทคโนโลยีไปซะหมด เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่าการเรียนเพื่อเข้าเป็นนักธุรกิจนั้น ต่อจะเป็นจริงๆคงเป็นได้สบายมาก ไม่อยากจนเกินไป เพราะว่าตอนนี้เด็กจะหันไปเรียนสายอื่นกันหมด
คุณค่าของอาชีพต่อการพัฒนาสังคม(นักธุรกิจ)
นักธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรฐกิจและสังคม  เมื่อเศรษฐกิจของประเทศประสบวิกฤต พวกเขาไม่เพียงแต่ต้องรักษาการผลิตประกอบธุรกิจเท่านั้น หากต้องยังยืนยันถึงบทบาทและหน้าที่ต่อสังคมผ่านการรักษาการคงอยู่ของบริษัท ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานและจัดกิจกรรมทางสังคมอีกด้วย
นักธุรกิจ มีภาระหน้าที่ที่สำคัญโดยต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่แรงงานและครอบครัวของพวกเขา ชุมชนและสังคมตามหลักการเพื่อผลประโยชน์ของสถานประกอบการและการพัฒนาของ สังคม  ในสภาวการณ์วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศและต่างประเทศ นักธุรกิจมีหน้าที่หลักคือพัฒนาการผลิตประกอบธุรกิจต่อไปเพื่อมีส่วนร่วมใน การพัฒนาสังคมผ่านการสนองสินค้าอุปโภคให้แก่ประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น